งานออกแบบที่ดีผู้ออกแบบควรเปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านได้มีส่วนร่วมกับการเติบโตของบ้านไปพร้อมๆกับทุกคนในบ้าน โดยไม่ทำให้งานออกแบบเสียสมดุล
Design: PAT Architecture and Interior Design
เสน่ห์ของสไตล์ลอฟท์ที่ผ่านการออกแบบนี้เป็นของสถาปนิกชาวไทยจาก PAT Architecture and Interior Design ที่ตั้งใจออก
แบบบ้านสไตล์คอนเทมโพรารี่ลอฟท์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ กับโจทย์ที่ได้รับว่าอยากให้บ้านออกมาดูแตกต่างแต่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
Design: PAT Architecture and Interior Design
Design: PAT Architecture and Interior Design
เมื่อเจ้าของบ้านต้องการให้บ้านออกมาดูแตกต่างแต่กลมกลืนกับธรรมชาติ และผู้เป็นเจ้าของชื่นชอบงาน Loft style เป็นพิเศษ บ้านหลังนี้จึงออกแบบมาให้เป็น Contemporary Loft นั้นคือการกำหนดรูปแบบให้ดูเรียบง่ายแต่เพิ่มลูกเล่นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นที่คนที่ทั่วไปมองว่าไม่สามารถเอามาทำเป็นส่วนประดับได้ นั่นก็คือการเอาไม้ตาลมาทำเป็นระแนงฝ้าด้านนอก แล้วจึงทาด้วยน้ำยาเคลือบไม้แบบเงา (ชาวบ้านทั่วไปนิยมเอาไม้ตาลไปทำโครงหลังคาเพราะแข็งแรงและปลวกไม่ชอบกิน) เนื่องจากไม้ตาลเป็นไม้ที่มีลายเสี้ยนชัดเจน และเนื้อสีเข้ม เมื่อเอาลงยูลีเทนแบบเงาจึงทำให้ความเข้มและลายไม้ออกมาชัดเจนสวยงามมาก เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดี
Design: PAT Architecture and Interior Design
ผนังบ้านแบบปูนเปลือยตัดกับผ้าระแนงไม้ตาลทำให้บ้านดูนุ่มนวลขึ้น
Design: PAT Architecture and Interior Design
หน้าต่างและช่องแสงที่ใหญ่พิเศษทำให้บ้านสว่างและไม่ร้อน
Design: PAT Architecture and Interior Design
หน้าบ้านเป็นเฉลียงกว้างซึ่งแดดจะส่องแค่ช่วงเช้าเท่านั้น ทำให้ตั้งแต่บ่ายไปจนค่ำสามารถใช้พื้นที่ส่วนนี้ได้อย่างเต็มที่
Design: PAT Architecture and Interior Design
ห้องทำงานชั้นสองทำเป็น Shallow pool และเลี้ยงปลาเพื่อใช้พักสายตาในการทำงานระหว่างวัน
Design: PAT Architecture and Interior Design
ผนังด้านข้าง(ทิศตะวันตกทำเป็นผนัง 2 ชั้นเพื่อป้องกันแดดร้อนในตอนบ่ายทำให้ภายในบ้านยังคงเย็นแม้จะโดดแดดส่องผนังตลอดบ่าย)และปลูกไม้ดอกชอบแดดและคลุมดินเพื่อให้ดินไม่แห้งเกินไป ตัวอาคารภายนอกและภายในเป็นผนังโชว์ลายปูนเปลือยเพื่อเน้นความดิบของวัสดุและทรงอาคารที่เรียบง่ายแต่วางตำแหน่งรับทิศทางลมและแดดได้เป็นอย่างดีทำให้บ้านหลังนี้เย็นสบายแม้ในหน้าร้อน
Design: PAT Architecture and Interior Design
ทำบ่อบัวไว้ตรงทางเข้าเพื่อเสริมให้บ้านดูมีบรรยากาศที่เย็นขึ้น เน้นการออกแบบ Universal Design นั้นคือทางเข้าบ้านจะไม่มีบันไดแต่จะทำเป็นทางลาดแทน เพราะในบ้านมีสูงอายุ ที่จำเป็นต้องใช้เก้าอี้รถเข็นเป็นประจำ ทำให้การปรับระดับจากพื้นสนามไปยังตัวบ้านเป็นไปอย่างไหลลื่น
Design: PAT Architecture and Interior Design
ภายในบ้านผนังส่วนใหญ่เป็นปูนเปลือยเพื่อปรับโทนให้บ้านกลมกลืนกันทั้งภายในและภายนอก และปล่อยพื้นที่ให้เจ้าของได้เล่นกับมันได้ในอนาคต
Design: PAT Architecture and Interior Design
บันไดออกแบบเป็นบันไดเปลือยโชว์ขั้นเพื่อเพิ่มจุดเด่นให้กับโถงกลางบ้าน ที่เปิดช่องแสงบนผนังเหนือบันได ทำให้บ้านสว่างทั้งวันโดยไม่ต้องเปิดไฟและยังได้บรรยากาศแสงจันทร์ในวันที่ฟ้ามีพระจันทร์อีกด้วย
Design: PAT Architecture and Interior Design
โถงบันไดชั้น 2 ใช้สติกเกอร์ติดผนังเพื่อให้ผนังดูมีลูกเล่นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
Design: PAT Architecture and Interior Design
โถงกลางบ้านสูง 6.5 ม. เพื่อให้พื้นที่ดูต้อนรับและไม่อึดอัด และยังเจาะช่องแสงเหนือบันไดเพื่อเพิ่มแสงให้บ้าน
สถาปนิกอยากให้เจ้าของบ้านมีส่วนร่วมในการออกแบบด้วย จึงเผื่อพื้นที่บางส่วน เช่นโถงกลางให้เจ้าของได้คิดเพิ่มได้ ปรับเปลี่ยนหรือจัดได้ตามต้องการ จะทำให้เจ้าของเกิดความผูกพันธ์กับบ้านอย่างแท้จริง
Thank You: www.facebook.com
forfur.com คือเว็บข้อมูลการออกแบบตกแต่งบ้าน เราไม่ได้รับงานสร้าง ออกแบบบ้านหรือจำหน่ายสินค้า
15-06-2015 (5019)