สำหรับการ
เขียนแบบบ้าน เป็นสิ่งสำคัญมากในการเริ่มต้นสร้างบ้าน เพราะช่วยให้คุณมีแบบบ้านที่ดี และคุณภาพมากที่สุด ส่งผลให้มีรูปแบบบ้านตรงตามที่ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจรายละเอียด โครงสร้าง และแบบแปลนหรือพิมพ์เขียวในการก่อสร้างบ้านหลังนั้นๆ โดยการเขียนแบบแปลนบ้าน ถือเป็นรูปแบบ ‘เอกสาร’ เขียนโดยสถาปนิก ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่บอกรายละเอียดของการก่อสร้างบ้าน แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้รับเหมา เพื่อใช้ในการก่อสร้างต่อไป ดังนั้นคุณควรทำความเข้าใจ หรือรู้จักองค์ประกอบในการเขียนแบบให้ดี เพื่อให้คุณได้บ้านสวย แข็งแรง ทนทาน และได้รับพึงพอใจมากที่สุด
การเขียนแบบบ้านคืออะไร ?
การเขียนแบบบ้าน เป็นเอกสารสำคัญที่บ่งบอกถึงรายละเอียดของการก่อสร้างบ้าน โดยบอกตั้งแต่รูปแบบบ้าน ขนาด พื้นที่ และวัสดุที่ใช้ ซึ่งต้องผ่านการเขียนโดยสถาปนิก และจำเป็นต้องมี ‘ลายเซ็น’ จากสถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง เพื่อใช้สำหรับยื่นขออนุญาตกับทางเขตอบต. หรือเทศบาล ส่งผลให้เป็นบ้านที่มีคุณภาพ สามารถสร้างได้จริง และไม่ผิดกฎหมายในการใช้สอยพื้นที่
เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ส่งไปที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่คุณจำเป็นต้องหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ดี และมีคุณภาพ เพราะผู้รับเหมาก่อสร้าง ถือเป็นส่วนสำคัญและเป็นตัวชี้วัดว่า คุณจะได้รับบ้านตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งการคัดเลือกผู้รับเหมา ไม่ควรเลือกจากราคาที่ต่ำสุดมากนัก โดยเลือกจากมีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน มีแสดงผลงานจากการก่อสร้าง เพื่อให้คุณได้รับแบบบ้านตรงตามความต้องการมากที่สุดนั่นเอง
วิธีคิดราคาเขียนแบบบ้าน: สมมติว่าคุณต้องการสร้างบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณพื้นที่ใช้สอยประมาณ 100 ตารางเมตร โดยมีค่าก่อสร้างประมาณ 20,000 บาท/ตารางเมตร ซึ่งค่าก่อสร้างบ้านทั้งหมดของคุณอยู่ที่ 2,000,000 ล้านบาท หากคิดค่าบริการเขียนแบบ ตรงกับตารางคือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท เท่ากับว่า 7.50% ของราคาบ้าน เท่ากับว่าค่าบริการเขียนแบบ (2,000,000x7.50%) = 150,000 บาทนั่นเอง
ทั้งนี้ค่าบริการมักจะมีรายการอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าวิศวกร ค่าโครงสร้าง ค่าเขียนแบบ ลายเซ็น ค่าวิชาชีพ และค่าผู้รับเหมา รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมยื่นขออนุญาตก่อสร้างเช่นกัน จึงทำให้ค่าเขียนแบบบ้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบ้านเท่านั้น แต่จะมีปัจจัยค่าใช้จ่ายเยอะแยะตามมาทีหลัง ดังนั้นคุณควรเตรียมเงินให้พร้อมอยู่เสมอ
วิธีเขียนแบบบ้านทำอย่างไร ?
หากคุณกำลังสนใจเขียนแบบด้วยตนเองถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะต้องคำนึงถึงความสวยงาม ฟังก์ชันในการใช้งานให้สอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอย แต่จริงๆแล้วคุณสามารถเขียนออกแบบบ้านได้แบบง่ายดาย อีกทั้งได้บ้านที่สวยงาม ตรงตามสเป็คของคุณอย่างแน่นอน มาดูพร้อมๆกันเลย
1. คำนึงถึงสมาชิกให้เหมาะสมกับบ้าน
แน่นอนว่าการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลังต้องคำนึงสมาชิกที่เข้ามาอยู่ภายในบ้านเสียก่อน เพราะจะได้พิจารณาพื้นที่ใช้สอย และประเภทของบ้าน เพื่อให้ได้บ้านที่สอดคล้องกับจำนวนสมาชิกที่พักอาศัยภายในบ้าน รวมไปถึงสามารถคำนวณจำนวนห้องต่างๆได้มีประสิทธิภาพ เช่น จำนวนห้องน้ำ, ห้องนอน และประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด เป็นต้น
2. ตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง
หลังจากคำนึงสมาชิกที่ต้องการให้พักอาศัยภายในบ้านแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้คือ งบประมาณ เพราะหลายๆบ้านมักจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือออกแบบบ้านจนมีงบประมาณเกินไปมาก ส่งผลให้มีเฟอร์นิเจอร์เยอะจนเกินไป ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ภายในบ้าน ดังนั้นควรตั้งงบประมาณตั้งแต่เริ่มต้นสร้างบ้าน ตกแต่งบ้าน และซื้อของ หรือเฟอร์นิเจอร์ เข้าบ้าน เพื่อให้ใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. ตำแหน่งและพื้นที่แต่ละห้องภายในบ้าน
สุดท้ายการเขียนแบบบ้านต้องเลือกประเภทของบ้านให้สอดคล้องกับสมาชิก และต้องมีแบบแปลนบ้านที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ โดยที่ไม่อึดอัดจนเกินไป ควรมีพื้นที่ใช้สอย หรือพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งคุณอาจพิจารณาได้ด้วยตนเองว่า ตำแหน่งของห้องต่างๆควรอยู่ในตำแหน่งใด และควรกั้นผนังอย่างไร เพื่อไม่ให้เสียงรบกวนซึ่งกันและกัน เป็นต้น
โปรแกรมเขียนแบบบ้านฟรีมีอะไรบ้าง ?
ในปัจจุบันผู้คนเริ่มนิยมเขียนแบบบ้านด้วยตนเองกันมากขึ้น ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาเป็นตัวช่วยในการออกแบบ และเป็นการจำลองตกแต่งบ้าน หรือออกแบบบ้านก่อนนำไปก่อสร้างจริง ทำให้สามารถลดการเกิดความเสียหาย และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตกแต่งได้ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องมืออาชีพก็สามารถใช้โปรแกรมเขียนแบบบ้านฟรีได้อย่างง่ายดาย โดยมีโปรแกรมดังต่อไปนี้
- Ikea Home Planer Tools
- Planner 5D
- The Home Renovator
- Sweet Home 3D
- SmartDraw
- HomeByMe
แหล่งหาแบบบ้านฟรี
หากคุณต้องการสร้างบ้านเอง โดยไม่ต้องเสียค่าสถาปนิกในการเขียนแบบบ้าน เราสามารถช่วยคุณได้ เพราะในประเทศไทยมี แบบบ้านฟรี ให้คุณนำไปเลือกใช้ในการก่อสร้างได้ตามที่ต้องการ โดยมีทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนที่จัดตั้งขึ้นมา ซึ่งมีแหล่งแบบบ้านฟรีดังต่อไปนี้
- แบบบ้านฟรีจาก กรมโยธาและผังเมือง
- แบบบ้านฟรีจาก สำนักโยธา กรุงเทพมหานคร
- แบบบ้านฟรีจาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- แบบบ้านฟรีจาก เอสซีจี ไฮม์
- แบบบ้านฟรีจาก ธุรกิจรับสร้างบ้าน