ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม เปรียบเสมือนรุ่งอรุณแห่งอารยธรรมที่หลอมรวมวิถีการใช้ชีวิตให้มีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน จนนำมาสู่คุณค่าแห่งมรดกทางภูมิปัญญาของบ้านไทยที่ถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นตลอดมา
สถาปัตยกรรมของบ้านไทยในอดีตนับเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์สำคัญที่สะท้อนวิถีชีวิตของไทยได้ดี ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม และความเชื่อ ซึ่งในอดีตชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับแม่น้ำและศาสนา จึงทำให้การปลูกบ้านเรือนส่วนใหญ่มีทำเลที่ตั้งใกล้กับแม่น้ำและวัดเป็นหลัก โดยมีลักษณะเป็นบ้านไม้ ยกใต้ถุนสูง เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และช่วยป้องกันน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก หรืออาจปลูกเป็นเรือนแบบง่ายๆ อย่างเรือนเครื่องผูก ซึ่งจะนิยมใช้ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ผูกขึ้นเป็นเรือนทั้งหลัง โดยในส่วนหลังคาจะนิยมมุงด้วยใบจาก หญ้าคา หรือใบแฝก บานหน้าต่างและประตูจะทำอย่างง่ายๆ และยกใต้ถุนไม่สูงนัก
หลังคาทรงสูง
เนื่องจากภูมิอากาศของประเทศไทยมีลักษณะร้อนชื้นและฝนตกชุกเป็นหลัก จึงทำให้การออก
แบบบ้านของไทยมีการใช้ภูมิปัญญาโดยการออกแบบหลังคาให้มีความลาดชันมาก เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็ว อีกทั้งหลังคาทรงสูงยังช่วยให้มีพื้นที่ใต้หลังคาที่สูงโปร่งและช่วยระบายความร้อนได้ดี
ชายคาบ้าน
นอกจากหลังคาทรงสูงแล้ว ภูมิปัญญาของบ้านไทยในอดีตที่นิยมออกแบบชายคาบ้านเพื่อให้น้ำฝนไหลออกจากตัวบ้าน จึงกลายเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาสู่การออก
แบบบ้านไทยในปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยป้องกันน้ำฝนรั่วซึมไหลเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้านและกันแดดเข้าสู่บริเวณบ้านได้ดี
ใต้ถุนสูง
บ้านไทยในอดีตนิยมปลูกบ้านอยู่ริมน้ำ ซึ่งมักจะมีน้ำหลากในช่วงฤดูฝน จึงทำให้รูป
แบบบ้านส่วนใหญ่ในสมัยก่อนออก
แบบบ้านโดยการยกใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้านในฤดูน้ำหลาก อีกทั้งในช่วงฤดูร้อนก็สามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้สำหรับเป็นมุมนั่งเล่นพักผ่อน ทำงาน เลี้ยงสัตว์ เก็บของใช้ หรือป้องกันโจรและสัตว์ร้ายขึ้นเรือนได้อีกด้วย เนื่องจากการออกแบบที่มีใต้ถุนสูงจะช่วยให้ลมสามารถพัดผ่านได้สะดวกมากขึ้น ที่สำคัญยังมีตัวเรือนด้านบนที่สามารถกรองความร้อนให้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้านเย็นสบายมากขึ้น การนำรูปแบบมาประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านยุคใหม่ในปัจจุบันให้มีพื้นที่บริเวณชั้นล่างเป็นแบบโล่งโปร่งสบายและสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี จึงเปรียบเสมือนเป็นการนำรูป
แบบบ้านใต้ถุนสูงที่ลมพัดผ่านอย่างสะดวกมาช่วยเพิ่มความเย็นสบายให้การอยู่อาศัยภายในบ้านได้อย่างลงตัวมากยิ่งขึ้น
การออก
แบบบ้านให้มีชาน
ระเบียงกว้าง ช่วยให้มีพื้นที่สำหรับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเชื่อมต่อพื้นที่ภายนอกและภายในให้มีความต่อเนื่องกัน เหมาะกับการใช้เป็นลานอเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัด ก็สามารถใช้พื้นที่นี้นั่งรับลมนอกห้องได้อีกด้วย เมื่อมีการนำแนวคิดมาปรับใช้ให้เข้ากับบ้านใหม่ในปัจจุบัน จึงช่วยให้สามารถกรองแสงแดดและความร้อนภายในบ้านให้เกิดการถ่ายเทได้ดี ช่วยป้องกันอากาศร้อนไม่ให้ไหลผ่านเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นภายนอกได้ตามต้องการ
สถานที่: งานบ้านและสวน Midyear 2017
ครัวไทย
ไม่เพียงแค่รูป
แบบบ้านไทยในอดีตเท่านั้นที่สามารถหยิบยกภูมิปัญญาต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับบ้านไทยในปัจจุบันได้ดี แต่รูปแบบของ
ห้องครัวในบ้านไทยสมัยก่อนยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาออกแบบเพื่อใช้งานร่วมกับบ้านยุคใหม่ได้อย่างลงตัว เนื่องจากรูปแบบของ
ห้องครัวไทยในอดีตนิยมออกแบบให้มีช่องระบายอากาศรอบด้าน ทั้งช่องทางหน้าต่าง, ช่องใต้หลังคา เพื่อให้กลิ่นอาหารสามารถระบายออกสู่พื้นที่ภายนอกได้ทันที โดยไม่ทำให้บรรยากาศภายใน
ห้องครัวร้อนอบอ้าว เพราะมีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ จึงสามารถช่วยลดปัญหาการเกิดเชื้อราและกลิ่นอับชื้นในครัวได้ดี
forfur.com คือเว็บข้อมูลการออกแบบตกแต่งบ้าน เราไม่ได้รับงานสร้าง ออกแบบบ้านหรือจำหน่ายสินค้า
04-06-2018 (7062)